“เอกนัฏ” ถกญัตติด่วน จี้ ทบทวนมตราการอารักขาขบวนเสด็จ ป้องกันเหตุขัดแย้งบานปลาย

วันที่ 14 ก.พ. 2567 ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มี นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 ทำหน้าที่ประธานการประชุม ภายหลังเข้าสู่วาระการประชุม นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ และ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ เสนอญัตติด่วนด้วยวาจาจำนวน 2 ญัตติ เรื่องการขอให้รัฐบาลเร่งรัดดำเนินการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบังคับใช้กฎหมาย ทบทวนระเบียบ แผนและมาตรการถวายความปลอดภัยขบวนเสด็จให้เหมาะสมทันสมัย มีการฝึกซ้อม

นักวิชาการรัฐศาสตร์ชี้ "ตะวัน" ฉุด "ก้าวไกล" ลงเหว!

เปิดหมายจับ “ตะวัน-แฟรงค์” ผิดม.116-พ.ร.บ.คอมพ์

และประชาสัมพันธ์สื่อสารกับประชาชนเพื่อเป็นการถวายความปลอดภัยให้สมพระเกียรติ และรักษาไว้ซึ่งสถาบันหลักของชาติ

นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ สส.พรรคเลขาธิการพรรครวมไทยสร้างชาติอภิปรายญัตติด่วน ขอให้ทบทวนมาตรการอารักขาถวายความปลอดภัยขบวนเสด็จ อ้างอิงเหตุการณ์ที่น.ส.ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ได้สร้างความปั่นป่วนขบวน ระบุว่าตนรู้สึกโกรธมากจนถึงเกือบขีดสุดจนเกิดความรังเกียจ เมื่อเห็นคลิปเหตุการณ์คำพูดจาก สล็อต777 เว็บตรง

นายเอกนัฏ ระบุว่า ตนนึกถึงพระบรมราโชวาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตรัสว่า Thailand is land compermise ทำให้ตนสงบสติอารมณ์ได้ นายเอกนัฎระบุว่าตนเจ้าหน้าที่ที่จะแสดงท่าทีในเรื่องนี้นานเกือบ 1สัปดาห์จนเหตุการณ์เกิดขึ้นในวันที่ 10 ก.พ. ที่กลุ่มนักกิจกรรมไปทำโพลล์จนเกิดการปะทะกัน วันนี้ตนไม่ได้ต้องการมาเพิ่มเติมความร้าวฉาน แต่คิดว่าเหตุการณ์นี้ไม่ควรเกิดขึ้น แต่ ถ้าไม่เร่งรัดจัดการก็อาจเกิดความขัดแย้งระดับประเทศ จึงวันนี้เสนอญัติเพื่อยับยั้งไม่ให้สถานการณ์บานปลาย

ขอเสนอให้เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายโดยทันที โดยย้ำว่าวันนี้ที่ออกมาเรียกร้องไม่ได้ล่าแม่มดทำการประหัดประหารในการวินิจฉัยผู้กระทำผิด แต่เพื่อความสงบเรียบร้อยไม่ให้สถานการณ์บานปลาย และคำนึงถึงการใช้สิทธิเสรีภาพต้องไม่ไปละเมิดคนอื่นและไม่ทำผิดตามกฎหมาย ตนจึงปรึกษาพรรคเห็นว่าเป็นโอกาสนี้ใช้สภาผู้แทนราษฎรมาเป็นเหตุผลสร้างสรรค์ ทบทวนระเบียบมาตรการ แผนถวายอารักขาขบวนเสด็จ ปัจุบันพ.ร.บ.ถวายอารักขาความปลอดภัยปี 2560 มีความชัดเจนว่า ใครต้องเป็นผู้ปฏิบัติ

นายเอกนัฎ ระบุว่า การก่อกวนขบวนเสด็จก่อนหน้านี้มีการก่อกวนในปี 2560 หากเราไม่มาทบทวนจะกลายเป็นการปล่อยปละละเลย กลายเป็นค่านิยมใหม่จะทำให้สถานการณ์บานปลาย ดั่งเช่นในฝรั่งเศส ที่เกิดอุบัติเหตุขบวนเด็จเจ้าหญิงไดอาน่า ขอย้ำว่าสิ่งแรกที่เป็นภารกิจของหน่วยอารักขาคือความปลอดภัย เมื่อสถานการณ์สงบลงแล้ว เจ้าหน้าที่ร้องเร่งบังคับใช้กฎหมายทันที

และขอให้มีการแก้ระเบียบและแผนอารักขาที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2548 ซึ่งตอนนี้สถานการณ์ความขัดแย้งเปลี่ยนบริบทไปแล้ว รวมถึงคำนิยามคำว่าภัยคุกคาม ได้เปลี่ยนไปแล้ว ควรต้องมาอัปเดตแผนและระเบียบตามกฎหมายใหม่ด้วย การอารักขาต้องไร้รอยต่อ เข้มงวด รัดกุม เมื่อมีการบังคับใช้กฎหมายแล้ว สิ่งที่สำคัญคือการฝึกซ้อม เมื่อเจ้าหน้าที่เผชิญเหตุต้องรู้ทันทีว่าจะต้องใช้กฎหมายอะไรเพื่อยับยั้งการก่อกวน

ทั้งนี้ตนกังวลกลัวเป็นน้ำผึ้งหยดเดียว แล้วจะสร้างความขัดแย้ง แตกแยกในอนาคต ซึ่งส่วนตัวอยากเห็นบ้านเมืองสงบสุข ไม่อยากให้มีการบั่นทอนสถาบันหลักของประเทศ

ด้าน นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฐ์ สส.บัญชีรายชื่อพรรคพรรคประชาธิปัตย์อภิปรายญัตติด่วน ขอให้ทบทวนมาตรการอารักขาถวายความปลอดภัยขบวนเสด็จ อภิปรายว่า เพราะมาตรการรักษาความปลอดภัยมีความสำคัญยิ่งยวด ในการอารักขาตั้งแต่พระมหากษัตริย์ ราชินี รัชทายาท พระบรมวงศานุวงศ์ รวมไปถึงผู้แทนพระองค์ การถวายความปลอดภัย มีความจำเป็น จึงเป็นเหตุให้ตนเสนอญัตติ เพาาะมิอาจเพิกเฉย

โดยมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ

คือ ให้สภาส่งความเห็นให้รัฐบาลดำเนินการ และให้คณะกรรมกานวิสามัยพิจารณาการตรมพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมไปพิจารณา เห็นว่ามีพฤติกรรมคุกคามขบสนเสด็จ มองว่าเป็นการกระทำไม่บังควร การที่ขบวนเสด็จไม่ปิดถนนนั้นเป็นการสะท้อนถึงพระเมตตา นายจุรินทร์ ระบุว่า เห็นว่าสิทธิเสรีภาพคือหัวใจ แต่การใช้สิทธิเสรีภาพต้องไม่ละเมิดผู้อื่น ต้องใช้เสรีภาพภายใต้ขอบเขตกฎหมายด้วย

โดยผู้มีหน้าที่ถวายความปลอดภัยตาม

พ.ร.บ.ถวายอารักขาความปลอดภัย ปี 2560 ให้หน่วยงานรัฐทุกแห่งมีหน้าที่ถวายความปลอดภัยหรือร่วมมือ ไม่อยากทำเรื่องนี้เป็นการเมือง แต่ส่วนตัวมองว่า นายกรัฐมนตนีในฐานะกำกับ สำนักงานตำรวจแห่งชาติออกมาแสดงท่าทีในเรื่องนี้ช้า 7-8วัน นายกนัฐมนตรีถึงได้เรียกผบ.ตร.มาหารือมาตรการถวายอารักขา โดยตนเสนอ 4 ข้อ และส่งให้รัฐบาล

1.ตระหนักในหน้าที่อารักขาความปลอดภัยตามกฎหมาย และดำเนินให้ปลอดภัยและสมพระเกียรติ ต้องเร่งรัดทบทวนมาตรการใม่ให้เกิดเหตุการณ์อีก

2 ให้รัฐบาลยึดหลักนิติธรรม เพื่อไม่ให้มีการส่งเสริมกระทำผิด

3.ในฐานะรัฐบาลเสียงข้างมาก รัฐบาลต้องไม่สนับสนุนให้มีการนิรโทษมาตรา 112 เพราะจะเป็นชนวนความขัดแย้งรอบใหม่ และยังเป็นการส่งเสริมให้กระทำผิด โดยเฉพาะเหตุป่วนขบวนเสด็จ ยิ่งเป็นการตอกย้ำพฤติกรรม ไม่ควรนิรโทษกรรม

4 ตั้งหลักพิจารณาทุกอย่างให้รอบคอบรอบด้าน ปรับปรุง พ.ร.บ.ถวายอารักขาความปลอดภัยปี 2560 เสนอให้มีบทลงโทษคนที่ละเมิดกฎหมายฉบับนี้ โดยไม่ต้องใช้กฎหมายเทียบเคียง ขอให้รัฐบาลพิจารณาว่าเหมาะสมหรือไม่ และทบทวนกฎระเบียบต่างที่เกี่ยวข้องขอให้สภาส่งความเห็นนี้ไปรัฐบาล ในฐานะสมาชิกสภา และพสกนิกร ที่จงรักถวายกำลังใจให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีด้วยความจงรักภักดี

เปิดความหมาย "ดอกกุหลาบ" และ 40 ความหมายดอกไม้รับ "วันวาเลนไทน์"

104 แคปชัน-คำอวยพร วาเลนไทน์ 2567 ประโยคเด็ดบอกสถานะ โสด มีคู่ อกหัก

ทำความเข้าใจกฎหมาย “ครอบครองปรปักษ์” ก่อนสูญเสียที่ดินให้คนอื่นไม่รู้ตัว

วันที่ 14 ก.พ. 2567 ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มี นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 ทำหน้าที่ประธานการประชุม ภายหลังเข้าสู่วาระการประชุม นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ และ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย…